วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

นกเขา


วงศ์า นกเขาเป็นวงศ์ของนกที่ประกอบไปด้วยนกจำพวกนกเขาและนกพิราบ มีประมาณ 300 ชนิด มีการกระจายพันธุ์ทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตชีวภาพอินโดมาลายา (Indomalaya) และ ออสทราลาเซีย (Australasia)
นกในวงศ์นี้มีลำตัวอ้วนกลม คอสั้น ปากเรียวมีปุ่มเนื้อเหนือปาก สร้างรังจากกิ่งไม้ บนต้นไม้ เชิงผา หรือบนพื้นดินขึ้นกับชนิด วางไข่ 1-2 ใบ พ่อและแม่ช่วยกันเลียงลูก ออกจากรัง 7 - 28 วัน[1] กินเมล็ดพืช และผลไม้เป็นอาหาร
งศ์ Columbidae

นกเขาเขียวChalcophaps indica นกพื้นเมืองของเอเชียใต้และออสเตรเลีย

นกชาปีไหนCaloenas nicobarica

นกพิราบหางพัด
  • วงค์ย่อย Columbinae
    • สกุล Columba รวมถึง Aplopelia (33-34 สปีชีส์ที่ยังอยู่, 2-3 สปีชีส์สูญพันธุ์แล้ว)
    • สกุล Streptopelia รวมถึง Stigmatopelia และ Nesoenas (14-18 สปีชีส์ที่ยังอยู่)
    • สกุล Patagioenas เดิมรวมอยู่ใน Columba (17 สปีชีส์)
    • สกุล Macropygia (10 สปีชีส์)
    • สกุล Reinwardtoena (3 สปีชีส์)
    • สกุล Turacoena (2 สปีชีส์)
  • วงค์ย่อย N.N.
    • สกุล Turtur (5 สปีชีส์; ไม่แน่นอน)
    • สกุล Oena ( ไม่แน่นอน)
    • สกุล Chalcophaps (2 สปีชีส์)
    • สกุล Henicophaps (2 สปีชีส์)
    • สกุล Phaps (3 สปีชีส์)
    • สกุล Ocyphaps
    • สกุล Geophaps (3 สปีชีส์)
    • สกุล Petrophassa (2 สปีชีส์)
    • สกุล Geopelia (3–5 สปีชีส์)
  • วงค์ย่อย Columbininae
    • สกุล Columbina (7 สปีชีส์)
    • สกุล Claravis (3 สปีชีส์)
    • สกุล Metriopelia (4 สปีชีส์)
    • สกุล Scardafella อาจเป็นส่วนหนึ่งของ Columbina (2 สปีชีส์)
    • สกุล Uropelia
  • วงค์ย่อย Otidiphabinae
  • วงค์ย่อย Didunculinae
  • วงค์ย่อย Gourinae
    • สกุล Goura (3 สปีชีส์)

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

เลิฟเบิร์ด


"เลิฟเบิร์ด" จัดเป็นนกแก้วชนิดหนึ่งที่มีตัวเล็ก มีหลายสายพันธุ์แยกได้เป็นทั้งหมด 9 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและหมู่เกาะมาดากัสการ์ มักอยู่รวมกันเป็นฝูง ปัจจุบันคนไทยได้นำนกชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามกันแพร่หลายและสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี, เลิฟเบิร์ดจัดเป็นนกที่มีเสน่ห์, ขี้เล่น จะอยู่กันเป็นคู่ ที่สำคัญ เป็นนกที่มีนิสัยรักเดียวใจเดียวและมีสีสันที่หลากหลาย ในวงการเลี้ยงนกต่างก็ทราบดีว่าเลิฟเบิร์ดขยายพันธุ์ได้ง่ายทำให้เกิดสีใหม่ ๆ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    
คุณยุทธนา อิ่มอโนทัย ชาวคลองสาน กรุงเทพมหานคร เป็นคนไทยรายหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสายพันธุ์นกเลิฟเบิร์ด ได้รับการยอมรับจากผู้นิยมเลี้ยงทั้งในและต่างประเทศปัจจุบันมีพ่อ-แม่พันธุ์นกเลิฟเบิร์ดประมาณ 700 คู่ การเลี้ยงในระบบโรงเรือนปิด ป้องกันเชื้อโรคทั้งจากยุง นกหรือแมลงต่าง ๆ จากภายนอก จัดเป็นแหล่งเลี้ยงนกที่มีการจัดการและความสะอาดได้มาตรฐานทีเดียว 
    
คุณยุทธนายังได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการผสมพันธุ์นกเลิฟเบิร์ดว่า นกที่จะใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี วิธีการดูนกเพศผู้และเพศเมียให้สังเกตดังนี้ ถ้าดูจากลักษณะภายนอก ตัวเมียจะค่อนข้างโตกว่าตัวผู้ แต่สีสันของตัวผู้จะเด่นชัดและสวยกว่าตัวเมีย ใช้วิธีจับตะเกียบ ตัวเมียตะเกียบจะห่าง ๆ และไม่ค่อยแหลม ส่วนตัวผู้ตะเกียบจะชิดกันและค่อนข้างแหลม เมื่อเราได้พ่อ-แม่พันธุ์แล้วทดลองจับนกทั้ง 2 ตัวใส่ในกรงเพาะที่ได้เตรียมไว้พร้อมกับรังไข่ ถ้าปรากฏว่านกยืนคู่กันและเข้าไปในรังไข่แสดงว่านกเข้าคู่กันแล้ว
    
นกเลิฟเบิร์ดที่เพาะขยายพันธุ์และนิยมเลี้ยงในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ไม่มีขอบตาและมีขอบตา แรกเริ่มจะมีสีอยู่ 2 กลุ่มคือ นกกลุ่มสีเขียวและนกกลุ่มสีฟ้า ปัจจุบันนกกลุ่มสีเขียวได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ไปจนกระทั่งเป็นนกสีเหลือง ส่วนสีบริเวณหน้านกจะเป็นสีแดงในช่วงแรกและถูกพัฒนาจนกระทั่ง เป็นหน้าสีส้ม ส่วนนกกลุ่มสีฟ้าจะถูกพัฒนาไปจนกระทั่งเป็นนกสีม่วงและสีหน้าของนกกลุ่มนี้จากเดิมจะเป็นสีปูน (สีขาวหม่น ๆ ออกสีส้มจาง ๆ บริเวณหน้าผาก) ได้ถูกพัฒนาพันธุ์เป็นนกหน้าขาว นกเลิฟเบิร์ดในแต่ละสายพันธุ์อาจจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป
    
ราคาซื้อ-ขายนกเลิฟเบิร์ดจะถูกหรือแพงคงหนีไม่พ้นเรื่องสี อย่างกรณีของ นกขอบตาหนา เซเบอร์พายด์ม่วง (โดมิแนนท์) จะมีราคาสูงมาก เนื่องจากยังไม่มีใครมี อย่างไรก็ตามปัจจัยในการตั้งราคาจะขึ้นอยู่กับความต้องการในตลาดมากกว่า ถ้าตลาดมีความต้องการสูง ราคาจะแพ

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ชูก้า ไกลเดอร์


ชูก้า ไกลเดอร์ (Sugar glider) กระรอกบินออสเตรเลีย หรือที่เรียกกันว่า จิงโจ้บิน คือสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับเลี้ยงดูลูกอ่อน(pouch) อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ หมีโคอะล่า และจิงโจ้ ชูการ์ ไกลเดอร์ มีถิ่นกำเนิดในเกาะแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย และปาปัวนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย  พวกมันเป็นสัตว์หากินกลางคืน กลางวันจะชอบนอน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนต้นไม้  เป็นสัตว์สังคมที่อยู่กันเป็นฝูง ประมาณ 6-10 ตัว

การเลี้ยงชูการ์ไกลเดอร์มีหลากหลายวิธี แต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกันไป การจะเลี้ยงแบบไหน ใครจะเลือกวิธีใด สิ่งที่ต้องนำมาเป็นหลักการในการจัดการ ก็คือ ข้อมูลชีววิทยา หรือเรื่องพื้นๆ ของตัวสัตว์
ชูการ์ไกลเดอร์เป็นมาร์ซูเปี้ยน หรือสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับเลี้ยงลูก ซึ่งก็อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ หมีโคอะล่า จิงโจ้ มี ถิ่นกำเนิดในออสเตรเลีย และนิวกินี เป็นสัตว์สังคมที่อยู่กันเป็นฝูง ประมาณ 6-10 ตัว และแต่ละฝูงก็จะมีอาณาเขตของตัวเองชัดเจน โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูงและทำหน้าที่กำหนดอาณาจักรของตนโดยการปล่อยกลิ่น จำเพาะ ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย คือ 100-160 กรัม และ 80-130 กรัม ตามลำดับ ความยาวลำตัวระหว่าง 160-210 มิลลิเมตร และความยาวถึงหางระหว่าง 165-210 มิลลิเมตร ชูการ์ไกลเดอร์จะมีพังผืดขยายออกมาจากด้านข้างลำตัวติดต่อระหว่างขาหน้าและ ขาหลัง ช่วยในการบินหรือร่อน เรียกว่า “gliding membrane” หรือ “patagium” มีขนาดของกระดูกเล็กและ เบา จึงทำให้ร่อนได้ง่าย
สามารถเป็นสัดหรือพร้อมผสมพันธุ์ได้หลายๆ รอบในช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ หรือระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงพฤศจิกายน (ในออสเตรเลีย) ส่วนในเมืองไทยจะพบมากในช่วงฤดูร้อนเข้าฝน หรือช่วงที่มีแมลงมาก เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ จะมีช่วงของการเป็นสัดยาว 29 วัน ตั้งท้องเพียง 15-17 วัน บางรายงานเพียง 13 วันเท่านั้น แล้วลูกของพวกเขาก็จะพยายามคลานออกมาสู่กระเป๋าหน้าท้อง ซึ่งที่นั่นจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และมีหัวนมทั้งหมด 4 เต้า และอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องนาน 70-74 วัน จึงจะออกมาอยู่ข้างนอก และเริ่มหย่านมในช่วงอายุ 110-120 วัน แต่ก็ยังอยู่กับแม่จนอายุ 8-12 เดือนในตัวเมีย และ 12-15 เดือนในตัวผู้ สิ่งที่พิเศษแตกต่างไปจากสัตว์ชนิดอื่น คือ อวัยวะเพศเมียจะถูกแบ่งออกเป็นคู่ มีช่องคลอดและมดลูกเป็นสองห้อง ขณะที่อวัยวะเพศผู้ก็แบ่งเป็นสองข้างเช่นกัน ซึ่งจะไม่ขับปัสสาวะผ่านส่วนปลายของลึงค์ แต่จะขับออกทางส่วนบนของฐานลึงค์ทั้งสอง
ชูการ์ไกลเดอร์เป็นพวกโอมนิวอร์หรือกินได้ทั้งพืชและสัตว์ และหากินในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ อาหารตามธรรมชาติ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากสำหรับผู้เลี้ยงในเมืองไทยหากต้องการจะเลี้ยงให้ เหมือนตามธรรมชาติ ที่บ้านเกิดของพวกเขา ชูการ์ไกลเดอร์กินเนื้อยางหรือน้ำหวานของต้นอคาเซีย และต้นยูคาลิปตัส ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตและกากอาหารสูง จึงไม่แปลกใจว่าทำไมส่วนซีคัมหรือไส้ติ่งของชูการ์ไกลเดอร์จึงขยายใหญ่ และที่นั่นมีการหมักอาหารโดยจุลชีพเพื่อสร้างสุดยอดอาหาร และมีฟันตัดด้านล่างที่แหลมคมและแข็งแรงมาก เพราะใช้กัดเปลือกไม้ให้เป็นรอยแยกนั่นเอง นอกจากนี้ยังกินพวกน้ำหวานจากดอกไม้ ผลไม้ และน้ำผึ้ง ในฤดูที่อุดมสมบูรณ์จะเลือกกินแมลงให้มาก จึงจะได้โปรตีนและไขมันสูง สะสมพลังงานไว้ใช้ในช่วงฤดูขาดแคลน และในป่านั้น พวกเขาต้องการพลังงานสูงมาก คือ 182-229 กิโลจูลต่อวัน หรือคิดเป็นอาหารประมาณ 17% ของน้ำหนักตัวต่อวัน เพราะเป็นสัตว์ที่ไม่หยุดนิ่ง อย่างไรก็ตาม ชูการ์ไกลเดอร์ที่ถูกนำมาเลี้ยง ก็มักจะต้องการน้อยกว่านั้น เนื่องจากกิจกรรมทรหดอย่างในธรรมชาติไม่มี หากกินมากก็จะเกิดโรคอ้วนได้ง่าย อย่างไรก็ตามไม่พบรายงานการกินเมล็ดธัญพืช นอกไปจากรายงานการจัดการด้านการเลี้ยงของมนุษย์เอง แต่เราก็สามารถจัดหาให้ได้ ในระดับที่ไม่มากเกินไปได้ ส่วนใหญ่ต้องอยู่ในรูปที่เป็นออแกนิคแล้ว ไม่ใช่เป็นเมล็ด
เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ไม่หยุดนิ่งนี่เอง ทำให้ต้องการพลังงานมาก และยังต้องการพื้นที่อาศัยในการทำกิจกรรมโลดโผนต่างๆ มาก
จากข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว เราจะมาลองจินตนาการ และจัดการการเลี้ยงดูแก่ชูการ์ไกลเดอร์
ชูการ์ไกลเดอร์ที่ได้รับการเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด อย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง จะทำให้พวกมันเรียนรู้จักเรา และจะกลายเป็นสัตว์ที่เชื่องชาญฉลาดอย่างไม่น่าเชื่อ ขนาดกรงที่เลี้ยงควรใหญ่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ได้ออกกำลังและสามารถบินร่อนได้ และมีชีวิตใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด ขนาดเล็กที่สุดที่ควรจะเป็น คือ 91×36×91 เซนติเมตร เป็นกรงตาข่ายที่มีการระบายอากาศที่ดี มีอุณหภูมิ ที่อาศัย คือระหว่าง 18-32 องศาเซนเซียส ขณะที่อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 24-27 องศาเซนเซียส ในกรงต้องมีที่กิน มีถาดอาหารและถาดน้ำ ที่หลบอาศัยที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย เช่น กล่องไม้ ซึ่งต้องแขวนไว้ในที่สูง และควรอยู่ในที่ประจำ ทำความสะอาดและเปลี่ยนที่รองนอนทุก 1-2 สัปดาห์ เลือกใช้กล่องรังนก บางท่านก็ใช้กล่องนอนสำหรับลูกสุนัขหรือแมว ซึ่งมักจะกลายเป็นแฟชั่นในระยะหลัง อย่างไรก็ตาม ขนาดของกล่องควรเหมาะกับจำนวนของชูการ์ที่อาจจะอาศัยอยู่ร่วมกันในกล่อง เดียว หรือจะตัวเดียวลำพังก็ควรจะมีขนาดอย่างน้อย 13×13 เซนติเมตร มีช่องเปิดด้านหน้า พื้นกรงทำความสะอาดได้ง่าย และสิ่งรองนอนที่นิยม เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษชำระแบบหนา ใบไม้หรือหญ้าแห้ง ขี้เลื่อย (บางท่านก็กังวลว่าจะอุดตันทางเดินอาหารได้) กากมะพร้าว ส่วนใหญ่นิยมผ้า มีไม้คอนสำหรับปีนป่าย หรือกิ่งไม้แตกสาขาก็จะเหมาะในการออกกำลัง ช่วยให้กรงมีชีวิตชีวา และเป็นประโยชน์ที่สัตว์จะได้แทะเล่น ช่วยในการสึกของฟันได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังอาจจัดหาของเล่น ซึ่งบรรดาของเล่นนกก็เหมาะที่จะนำมาใช้กับชูการ์ไกลเดอร์ เป็นการทำให้สัตว์ไม่เบื่อ
อาหารที่เหมาะสม มีผู้รายงานเอาไว้ และมีความหลากหลายมาก แต่อาหารนั้นควรประกอบไปด้วยแหล่งของโปรตีนสูง ซึ่งเชื่อว่าแมลงเป็นแหล่งอาหารหลักตามธรรมชาติ ผู้เลี้ยงส่วนหนึ่งจึงนิยมให้แมลงเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้แหล่งโปรตีนที่สำคัญยังได้แก่ ไข่ ลูกหนูแรกเกิด เนื้อสัตว์ อาหารแมวคุณภาพสูง ซึ่งหลายๆ อย่างไม่นิยมให้ ยกเว้นไข่แดงที่ใช้กันสม่ำเสมอในสวนสัตว์ และเสริมด้วยแหล่งอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตสูง เช่น เนกตาร์ น้ำผึ้ง ยางไม้ของยูคาลิปตัสหรืออะคาเซีย ในต่างประเทศนิยมใช้อาหารของชูการ์ไกลเดอร์ และสามารถใช้อาหารนกกินแมลงเข้ามาทดแทนในอาหารได้ ประมาณ 24% ในธรรมชา ติชูการ์ไกลเดอร์จะไม่กินเมล็ดธัญพืช แต่ประยุกต์ใช้ในรูปที่เป็นออแกนิคได้ ซีลีแลค หรือนีโอเน็ต ก็ถือว่าเป็นแหล่งธัญพืชที่แปรรูปแล้ว และควรจำกัดผักและผลไม้ ซึ่งพบการกินได้น้อยมากในธรรมชาติ ในไทยมีแหล่งอาหารเหล่านี้มาก ถือว่าเป็นความโชคดีสำหรับชูการ์ไกลเดอร์ เช่น น้ำหวานจากผลไม้ ผลไม้บางชนิดให้น้ำตาลฟรุกโตสสูงมาก เป็นแหล่งพลังงานที่ดี ผู้เลี้ยงบางคนก็ได้ทดลอง และในการเลี้ยงพบว่าพวกเขาสามารถกินและปรับตัวได้ดี และผักสีเขียวก็เป็นแหล่งของไวตามินและกากอาหารที่ดี อย่างไรก็ตาม อาหารที่ไม่มีการกินตามธรรมชาติ ควรถูกจำกัดให้น้อยกว่า 10% เพราะพบว่าการให้ผลไม้เป็นหลัก ซึ่งจะให้โปรตีนและแคลเซียมต่ำ ทำให้เกิดโรคกระดูกเสื่อม และโรคฟัน แม้ว่าอาหารจะมีความหลากหลายและมีความเชื่อแตกต่าง ทั้งถูกและผิด แต่ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด การเลือกเอาอาหารของตัวพอสซัม “Leadbeater’s possum” ซึ่งมีความใกล้ชิดกับชูการ์ไกลเดอร์มาก เรียกว่า “Leadbeater’s mixture” มาเป็นอาหารสูตรผสมสำหรับชูการ์ไกลเดอร์ โดยเอาไปผสมกับอาหารสำหรับพวกกินแมลงหรือเนื้อ เช่น อาหารนกคุณภาพสูง ซึ่งควรจะให้โปรตีนและไขมันสูง นิยมผสมกับอย่างละครึ่ง และสามารถเสริมด้วยของกินเล่นต่างๆ เช่น เนื้อตาก แมลง ผลไม้อบแห้ง และรังผึ้ง เป็นต้น แต่ของกินเล่นควรน้อยกว่า 5%

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ตุ๊กแกเสือดาว



ตุ๊กแกเสือดาว จัดเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่บริเวณทะเลทรายของประเทศอัฟกานิสถาน, ปากีสถานและอินเดียตะวันตก เป็นต้น ความแตกต่างของตุ๊กแกเสือดาวเมื่อเปรียบเทียบกับตุ๊กแกชนิดอื่น ๆ ตรงที่ มีเปลือกตาเพื่อป้องกันฝุ่นละอองตามธรรมชาติ และเท้าที่เป็นเล็บแหลมสำหรับปีนป่ายซึ่งต่างจากตุ๊กแกชนิดอื่นที่ส่วนของ เท้าเป็นพังผืด มีหางที่อวบอ้วนซึ่งจะเป็นอวัยวะที่ช่วยเก็บสารอาหารทำให้ทนต่อสภาพการขาด อาหารในบริเวณท้องที่ทุรกันดารได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันตุ๊กแกเสือดาวได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามอีกชนิดหนึ่งด้วย เสน่ห์ของสีสันและลวดลายบนลำตัว สามารถจับเล่นได้และมักจะเชื่องกับเจ้าของ โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายในสีและลวดลาย คุณรัฐกิจ จันทรสีมา ชาวบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีประสบการณ์ในการเลี้ยงตุ๊กแกเสือดาวมานานประมาณ 3 ปี และมีตุ๊กแกเสือดาวมากกว่า 10 สีและสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในบ้านเรา คุณรัฐกิจได้บอกวิธีการเลี้ยงตุ๊กแกเสือดาวควรจะเลี้ยงในตู้ปลาหรือกล่อง พลาสติก (ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้เลี้ยงในกล่องพลาสติกเพราะเคลื่อนย้ายได้สะดวก มีน้ำหนักไม่มากและทำความสะอาดง่าย)

ตู้เลี้ยงตุ๊กแกเสือดาว

เนื่องจากตุ๊กแกเสือดาวเป็นสัตว์ที่มาจากเขตร้อนและแห้งแล้ง ความร้อนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับตุ๊กแกเสือดาวที่จะช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร และการย่อยอาหาร อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงจะเฉลี่ยอยู่ที่ 30-35 องศาเซลเซียส ถึงแม้ตุ๊กแกเสือดาวจะชอบอากาศร้อน แต่มีความต้องการอากาศที่ถ่ายเทได้สะดวกด้วย ดังนั้นไม่ควรปิดกล่องหรือตู้ปลาให้ทึบ สำหรับวัสดุที่ใช้รองพื้นมีให้เลือกหลายชนิด เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์, กระดาษทิซชู ฯลฯ หลายคนอาจจะใช้ทรายและดินเป็นวัสดุรองพื้นอาจจะมีผลกระทบต่อระบบการย่อย อาหาร ถ้าพบว่าตุ๊กแกเสือดาวกินทรายและดินเข้าไป

การรองพื้นสำหรับเลี้ยงตุ๊กแกเสือดาว

ในตู้เลี้ยงควรจะเตรียมที่ซ่อนตัวให้กับตุ๊กแกเสือดาว เช่นกล่องเจาะรูหรือถ้วยพลาสติกคว่ำเจาะช่องเข้า-ออกหรือถ้ามีเงินอาจทำเป็น บ้านไม้เล็ก ๆ สำเร็จรูป ที่ซ่อนควรจะมีความชื้นเพื่อช่วยในการลอกคราบโดยใช้กระดาษทิซชูหรือขุย มะพร้าวที่เปียกหมาด ๆ นอกจากนั้นในกรงเลี้ยงผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมถ้วยตื้น ๆ เพื่อใส่น้ำให้กินและจะต้องเปลี่ยนทุกวันเพื่อความสะอาด สำหรับถ้วยอาหารจะต้องใช้ขนาดที่ตุ๊กแกปีนขึ้นไปกินอาหารได้ แคลเซียมและวิตามินมีความจำเป็นต่อการเลี้ยงตุ๊กแกเสือดาวจะส่งผลดีต่อ กระดูก เนื่องจากตุ๊กแกเสือดาวเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืนทำให้ไม่สัมผัสกับ รังสี UV จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้แคลเซียมทดแทน

ตุ๊กแกเสือดาวจัดเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายถ้าได้รับอาหารที่ดี, ที่อยู่อาศัยดีและสะอาด การเจริญ เติบโตของตุ๊กแกเสือดาวเกิดจากการลอกคราบ ดังนั้นควรจะมีที่ชื้นเพื่อช่วยในการลอกคราบ.